ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ เช็คสิ! เกิดจากอะไร

by BabyAndMomThai.com

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ เช็คสิ! เกิดจากอะไร

การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ปวดอุ้งเชิงกราน นั่นอาจเป็นเพราะว่ามีอายุครรภ์ที่มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นน้ำหนักของลูกและมดลูกจะมากขึ้นตาม ทำให้ท้องขยายใหญ่ขึ้น ที่คุณแม่ปวดอุ้งเชิงกรานอาจเป็นเพราะว่ากระดูกเชิงกรานยึดติดกับส่วนที่เป็นกระดูกสันหลังที่ช่วยดึงตัวคุณแม่ให้กลับมาแนวตรง ทำให้กระดูกเชิงกรานนั้นต้องทำงานหนัก และเกิดอาการปวดได้ และนอกจากนี้ก็ยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุดังนี้

1.การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่ายืน ท่านั่ง หรือท่าลุก ท่าต่างๆ นี้จะส่งผลต่อกระดูกเชิงกราน เพราะเมื่อคุณแม่ต้องยกของหนักหรือลุกนั่งบ่อยๆ จะทำให้กระดูกเชิงกรานทำงานหนักเพราะต้องดึงรั้งท้องของคุณแม่ไว้ จนทำให้ปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

2.ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น

ระยะการตั้งครรภ์ช่วง 5-6 เดือนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวขึ้นเพื่อขยายพื้นที่สำหรับเด็กในครรภ์ เพื่อที่จะทำให้เด็กเคลื่อนผ่านบริเวณช่องคลอดได้ง่ายกว่าเดิม จึงส่งผลทำให้กระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักเพิ่มตามขึ้นไปด้วย และมีอาการปวดได้นั่นเอง

3.อายุของคุณแม่

ถ้าคุณแม่มีอายุมากแล้ว ความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อนั้นก็จะน้อยลง ดังนั้น กล้ามเนื้อที่ยืดบริเวณกระดูกเชิงกรานก็จะรับน้ำหนักของครรภ์ได้ไม่ดีเท่าคุณแม่ที่ยังมีอายุน้อยนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดได้

4.น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นถ้ามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาน 10-15 กิโลกรัม แสงว่าปกติดี แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหนที่รู้สึกว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ก็จะทำให้ปวดอุ้งเชิงกรานมากขึ้น เพราะบริเวณนี้ต้องออกแรงรับน้ำหนักมาก จึงทำให้เกิดอาการปวดบริเวณนี้มากขึ้นตามน้ำหนักเช่นกัน

5.สภาพร่างกายของคุณแม่

ถ้าปกติแล้วก่อนตั้งครรภ์คุณแม่เป็นคนที่รักษาสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณแม่นั้นแข็งแรง จะส่งผลให้อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานมีอาการปวดที่น้อยลง แต่ถ้าหากคุณแม่เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกายก็จะทำให้กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง และยิ่งต้องมารับน้ำหนักเยอะๆ ก็จะส่งผลให้มีอาการปวดขึ้นมาได้

อาการปวดกระดูกเชิงกรานถ้าหากมีอาการเรื้อรังจะส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีอาการเสื่อมเร็วมากขึ้น และถ้ากระดูกต้องมารับน้ำหนักเยอะๆ โดยที่ไม่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาช่วยพยุงอาจจะทำให้เกิดภาวะกระดูกผุกร่อนได้ และเมื่อเกิดอาการกระดูกผุกร่อนไปนานอาจจะนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนได้ ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงมีสุขภาพดีกันด้วย

 














 

You may also like

กด LIKE เป็นกำลังจัยให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ-Facebook-FanPage